ในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงของบริบทระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง อันได้แก่ การเปิดการค้าเสรีแบบไร้พรมแดน การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การลงทุนทางการค้าได้อย่างเสรี ส่งผลกระทบให้องค์กรต่างๆต้องกับเผชิญกับภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 นี้เป็นสังคมฐานความรู้ (knowledge-based society) ซึ่งเป็นยุคที่ นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ( innovation and creativity) เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กร "นวัตกรรม" ครอบคลุมในขอบเขตที่กว้างมาก นวัตกรรมจึงมีกลายเป็นประเด็นวาระสำคัญขององค์กรระดับโลกซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถสร้างความเติบโต มั่งคั่ง มาสู่องค์กร สังคม และประเทศชาติได้ ในขณะที่ยุคเก่าที่เป็นยุคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (industrial economy) วัดความมั่งคั่งขององค์กรไปที่ด้านการเงิน แต่ในยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคของเศรษฐกิจฐานความรู้ซึ่งเป็นยุคที่ถูกขนานนามว่า "ยุคเศรษฐกิจแห่งนวัตกรรม" (innovation economy) หันมาวัดความมั่งคั่งขององค์กรแบบใหม่โดยวัดกันที่ Intangible assets อย่างเช่น brand equity, marketing capability, patents, progresses, technologies และ managerial skills หรือทั้งหมดนี้เรารวมเรียกว่า "ทุนทางปัญญา" (intellectual capital) มีนักวิชาการ จำนวนมากเห็นพร้องต้องกันด้วยว่าความสามารถขององค์กรในการส่งเสริมสนับสนุน พัฒนา และใช้พนักงานในองค์กรที่มีศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมสามารถนำพาความสำเร็จมาสู่องค์กรได้ ดังนั้น นวัตกรรมจึงเป็นตัววัดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการที่บอกว่าองค์กรสามารถรักษาระดับของผลการปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับสูงได้ตลอดเวลา (Tewari, 2011)
นวัตกรรม (Innovation) ได้มีผู้ให้คำนิยามในความหมายต่างๆดังนี้
Ahmed และ Shepherd (2010, p.4) ได้ให้ความหมายคำว่า นวัตกรรม คือ แหล่งของความก้าวหน้าและการพัฒนา องค์กรและประเทศที่มีการจัดการนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องก็เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจ
Gailly (2011, p. 6) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมในมุมมองของการจัดการว่า เป็นการผสมผสานระหว่างสิ่งสำคัญ 2 สิ่ง คือ สิ่งใหม่ (สิ่งประดิษฐ์ หรือ การค้นพบ) และ การเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ นวัตกรรมเป็นบางสิ่งที่ใหม่สำหรับองค์กร มันเกิดขึ้นจากผลของสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่สร้างขึ้นมา หรือ การค้นพบ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่ถูกค้นพบนั่นเอง และมันถูกขับเคลื่อนโดยความสามารถทางเทคโนโลยีขององค์กร จากไอเดียที่องค์กรสามารถควบคุมได้ และจากฐานความรู้ขององค์กร
Maital และ Seshadri (2012) ให้คำจำกัดความของคำว่า นวัตกรรมว่า คือ การฝ่าฝืนกฎอย่างชาญฉลาด กล่าวคือ เป็นการฝ่าฝืนกฎโดยใช้ภูมิปัญญา